Article &Technicle

อัพเดท! มาตรฐาน GAP สำหรับผู้เลี้ยงไก่ไข่ 1,000 ตัวขึ้นไป มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ (GAP) ได้รับการกำหนดเป็นมาตรฐานบังคับโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยของการผลิตไข่ไก่ในประเทศไทย มาตรฐานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันโรคระบาดสัตว์ โรคที่สามารถติดต่อสู่คน และการปนเปื้อนสารตกค้าง เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของผู้บริโภคและปกป้องอุตสาหกรรมจากภัยคุกคามต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การบังคับใช้มาตรฐาน GAP สำหรับฟาร์มไก่ไข่: ฟาร์มที่เลี้ยงไก่ไข่ตั้งแต่ 100,000 ตัวขึ้นไป มาตรฐานมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564และขณะนี้ ได้มีการบังคับใช้ มาตรฐาน GAP สำหรับฟาร์มที่เลี้ยงไก่ไข่ตั้งแต่ 1,000 ตัวขึ้นไป มีตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 อย่างไรก็ตาม สำหรับฟาร์มที่เลี้ยงไก่ไข่ระหว่าง 1,000 – 9,999 ตัว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีแผนที่จะเสนอร่างกฎกระทรวงให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา เพื่อยกเว้นการบังคับใช้มาตรฐาน GAP สำหรับฟาร์มในขนาดดังกล่าว เพื่อให้เกษตรกรมีเวลาในการปรับตัว อีกทั้งกรมปศุสัตว์มีแผนส่งเสริมให้เข้าสู่มาตรฐานทางเลือก เช่น ปศ […]

การจัดการฟาร์มโคให้มีความปลอดภัยทางชีวภาพเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่อาจเข้าสู่ฟาร์มได้ การวางแผนและการจัดการที่ดีจะช่วยให้ฟาร์มของคุณปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป้าหมายหลัก ป้องกันการนำเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ฟาร์ม ด้วยการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคระหว่างสัตว์ภายในฟาร์ม ด้วยการจัดการสุขาภิบาล ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคภายในฟาร์มออกสู่ฟาร์มข้างเคียง ด้วยการควบคุมการสัญจรภายในฟาร์ม การวางแผนผังและการแบ่งพื้นที่ แยกส่วนพื้นที่ทำงานออกจากพื้นที่พักอาศัย กำหนดเส้นทางการสัญจรและจุดจอดของยานพาหนะที่ใช้ภายในฟาร์ม กำหนดส่วนพื้นที่ควบคุม พื้นที่หวงห้าม และจุดรอยต่อที่สำคัญในแต่ละบริเวณ บริเวณฟาร์มต้องมีรั้วรอบขอบชิด แยกออกจากภายนอก แบ่งกลุ่มการเลี้ยงโคให้เหมาะสมกับช่วงอายุและการให้ผลผลิต ต้องแบ่งแยกอุปกรณ์ในการทำงานแต่ละพื้นที่และมีการทำความสะอาดฆ่าเชื้อเสมอ การควบคุมผู้เข้าเยี่ยมฟาร์มและป้ายสัญลักษณ์ มีป้ายแจ้งเตือนในส่วนสำคัญ ข้อปฏิบัติและข้อห้ามในส่วนบริเวณสำคัญภายในฟาร์ม ผู้เข้าเยี่ยมฟาร์มจะต้อง […]

การจัดการฟาร์มโคนมให้ได้ผลผลิตสูงสุดจำเป็นต้องอาศัยหลายปัจจัยที่ต้องทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการด้านระบบสืบพันธุ์ การจัดการอาหาร การดูแลสุขภาพโค การดูแลสุขภาพกีบ รวมถึงการจัดการด้านเศรษฐศาสตร์ของฟาร์ม บทความนี้จะเน้นไปที่ปัจจัยสำคัญเบื้องต้นที่ทุกฟาร์มควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ได้แก่ การจัดการระบบสืบพันธุ์และการจัดการอาหาร ทำไมการกินถึงสอดคล้องกับระบบสืบพันธุ์? การจัดการอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ของโค อาหารที่โคกินเข้าไปจะถูกแปลงเป็นพลังงานและนำไปใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย หากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของโค เช่น สำหรับการดำรงชีวิต กิจกรรมในแต่ละวัน และการสร้างน้ำนม ระบบสืบพันธุ์จะทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้โคกลับสัดหลังคลอดได้ช้าลงและไม่พร้อมผสมพันธุ์ในเวลาที่เหมาะสม ทำไมโคถึงต้องการพลังงานสูงในช่วงหลังคลอดและช่วงให้นมระยะต้น? 1. การกินได้หลังคลอดต่ำ : หลังคลอดแม่โคมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ฮอร์โมน และเริ่มการผลิตน้ำนม แต่การกินอาหารของแม่โคจะลดลงในช่วงแรก โดยหลังคลอดจะกินได้เพียง 60% ของช่วงเดือนที่ 3 2. การให้นมระยะแร […]

โรคปากและเท้าเปื่อยเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัส ชนิด O, A, และ Asia 1 ซึ่งการแพร่เชื้อสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อสัตว์อยู่ใกล้ชิดกันหรือใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ร่วมกัน โรคนี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำนมและเนื้อสัตว์ เพราะทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตของสัตว์ลดลง และอาจก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ โรคปากและเท้าเปื่อยสามารถเกิดขึ้นกับสัตว์กีบคู่ทุกชนิด ได้แก่ วัว ควาย แพะ แกะ และหมู เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสัตว์เหล่านี้ การติดเชื้อทำให้เกิดแผลพุพองและการอักเสบที่บริเวณปากและเท้า ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์มีอาการเจ็บปวดและกินอาหารได้น้อยลง วิธีสังเกตอาการของวัวที่เป็นโรคปากและเท้าเปื่อย สามารถสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสุขภาพของสัตว์ ได้แก่ น้ำลายไหล : สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีน้ำลายไหลออกมามากผิดปกติ เนื่องจากมีแผลในช่องปาก ทำให้สัตว์มีอาการเจ็บและไม่สามารถกลืนน้ำลายได้ตามปกติ แผลพุพองที่ลิ้น เหงือก และเพดานปาก : เชื้อไวรัสทำให้เกิดแผลที่บริเวณต่างๆ ในช่องปาก ซึ่งทำให้สัตว์มีอาการเจ็บปวด กินอาหารน้อยลง : เนื่องจากความเจ็บปวดจ […]

การจัดการฟาร์มสุกรในปัจจุบันไม่ได้หยุดเพียงแค่การดูแลสัตว์ให้เติบโตอย่างแข็งแรงเท่านั้น แต่ยังต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความสัมพันธ์กับชุมชนรอบข้าง การลดกลิ่นไม่พึงประสงค์จากมูลสุกรจึงเป็นความท้าทายสำคัญที่ฟาร์มสุกรทั่วประเทศต้องเผชิญ และฟาร์มมั่นซื่อตรงดี จังหวัดสุพรรณบุรี ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าความร่วมมือกับเบทาโกรในการแก้ไขปัญหานี้สามารถสร้างผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจได้อย่างแท้จริง คุณจักราวุธ มั่นซื่อตรงดี เจ้าของฟาร์มมั่นซื่อตรงดี กล่าวถึงความสำเร็จในการลดกลิ่นในฟาร์มว่า “ครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่ทำให้เราภูมิใจ การลดกลิ่นในฟาร์มไม่เพียงแต่ช่วยให้ฟาร์มของเรามีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น แต่ยังสร้างความมั่นใจให้กับชุมชนใกล้เคียงว่า ฟาร์มของเราดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมและเป็นมิตรกับทุกคน เมื่อเปรียบเทียบกับฟาร์มอื่น ๆ เรารู้ทันทีว่าอาหารที่เราใช้นั้นเป็นผลิตภัณฑ์จากเบทาโกรอย่างแน่นอน เพราะแม้แต่ในเวลาที่ถ่ายทำอยู่ตอนนี้ เราก็ไม่ได้กลิ่นของมูลสุกรเลยครับ” ความท้าทายในการจัดการฟาร์มสุกร การจัดการฟาร์มสุกรไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฟาร์มสุกรต้องปฏิบัติตามมาตร […]

โรงเรือนเลี้ยงไก่มีจุดประสงค์ใช้เพื่อเป็นแหล่งที่พักอาศัย ป้องกันไก่จากสัตว์นักล่า สัตว์พาหะ กันแสงแดดและฝน ควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเลี้ยงไก่ (สำหรับโรงเรือนระบบปิดหรือโรงเรือนอีแวป) ดังนั้นการเตรียมโรงเรือนให้เหมาะสมมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเริ่มต้นเลี้ยงไก่ที่ดีและมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนหลักสำหรับการเตรียมโรงเรือน คือ การทำความสะอาด (Cleaning) และการฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) จุดประสงค์เพื่อให้ช่วยลดการปนเปื้อนเชื้อโรค และป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดซ้ำของโรคต่างๆในฟาร์มได้ เช่น โรคมาเร็กซ์ (Marek’s disease) โรคติดเชื้อมัยโคพลาสมา(Mycoplasma) โรคไวรัสต่างๆ และโรคซัลโมเนลโลซิส (Salmonellosis) ขั้นตอนการเตรียมโรงเรือนมี 6 ขั้นตอนสำคัญดังนี้ 1. การเตรียมความพร้อมโรงเรือน (House preparation) เป็นขั้นตอนแรกหลังจากปลดไก่ตัวสุดท้ายออกจากโรงเรือน เริ่มด้วยการกำจัดสารอินทรีย์วัตถุต่างๆ เช่น สิ่งปูรอง มูลไก่ ซากไก่ตาย เป็นต้น การถอดอุปกรณ์ต่างๆที่ไม่ได้ใช้งาน เช่น หลอดไฟ อุปกรณ์บรรจุอาหารและอุปกรณ์ให้น้ำเพื่อนำไปล้างทำความสะอาดด้วยสารลดแรงตึงผิว(Surfactants) เช่น Nexgen MP 1000 ช่วยขจ […]